เป็นโรคแพนิคขับรถยังไง แจกแนวทางขับขี่ให้ปลอดภัยตลอดทาง |
|
อ้างอิง
อ่าน 105 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
|
แจกแนวทางขับรถปลอดภัย ห่างไกลอันตรายจากโรคแพนิคขณะขับรถ

สัญญาณเตือนเริ่มต้นของผู้เป็นโรคแพนิคขณะขับรถ อยู่ดีๆก็รู้สึกหายใจไม่ทัน รู้สึกแน่นหน้าอกขึ้นมากะทันหัน มือเท้าก็ชาไปหมด บางครั้งก็รู้สึกไม่มั่นใจเลย ไม่สามารถที่จะควบคุมอาการเหล่านี้ได้ด้วยตนเองได้ ซึ่งสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคบางรายเมื่อมีอาการเหล่านี้อาจจะเกิดการกังวลจนกลัวการขับรถไปเลยก็มีมาแล้ว สำหรับใครที่มีความสงสัยอย่างยิ่งว่าตนเองมีปัญหาดังกล่าวหรือไม่ ก็จะต้องมีการสังเกตตัวเองสม่ำเสมอ เพื่อทำให้การขับรถทุกครั้งเต็มไปด้วยความปลอดภัย ซึ่งวันนี้เราก็มีแนวทางการขับรถปลอดภัยห่างไกลความอันตรายจากแพนิคมาฝากทุกท่าน
ตามไปไขข้อสงสัย โรคแพนิค คืออะไร ?
สำหรับโรค Panic หรือที่หลายคนเรียกกันว่า โรคตื่นตระหนก กล่าวคือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งซึ่งเรียกได้ว่าเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะรู้จักกันเท่าไหร่นัก รวมไปถึงตัวผู้ป่วยเองก็อาจจะยังไม่ทราบว่าตนเองมีอาการเป็นโรคแพนิค ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการเริ่มต้นส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุประมาณ 15-19 ปี รวมไปถึงวัยผู้ใหญ่ก็มีอาการของโรคแพนิคร้อยละ 18 กันเลยทีเดียว ส่วนใหญ่มักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายที่อัตราส่วน 2 ต่อ 1

รวบรวม 5 วิธีการรับมืออาการแพนิคขณะขับรถให้อยู่หมัด
โรคแพนิคมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นมือใหม่หัดขับ อาจจะมีความกังวลในการขับขี่รถ รวมถึงมีการประหม่า ว่าตัวเองไม่สามารถที่จะทำได้ ไม่กล้าที่จะตัดสินใจในการเหยียบคันเร่ง สำหรับใครที่รู้สึกว่าตนเองกำลังประสบพบเจอกับอาการของโรคแพนิคขณะขับรถอยู่ ก็ตามมาดูวิธีการรับมือง่ายๆ ดังนี้
-
ฟังเพลงขณะขับรถ: สำหรับการฟังเพลงขณะขับรถเรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยที่สามารถป้องกันโรคแพนิคขณะขับรถได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว เนื่องจากเพลงจะเป็นตัวช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในรถ ได้ จะช่วยลดอาการ Panic หรือลดอาการกลัวการขับรถได้มากถึง 80%
-
ฝึกหายใจ: สำหรับวิธีการฝึกการหายใจเข้าและหายใจออก จะทำให้ผู้ป่วยโรคแพนิครู้สึกผ่อนคลาย สามารถขับรถได้แบบไร้ความกังวลมากยิ่งขึ้น ทำได้ง่ายๆด้วยการหายใจเข้าเต็มปอด จากนั้นปล่อยลมออกอย่างช้าๆ ทำสลับไปมาหลายครั้ง จนมีความรู้สึกว่าดีขึ้น
-
ไม่ขับรถเร็ว: ควรขับรถช้าๆ ด้วยการระมัดระวังเป็นอย่างดี เพราะการขับรถเร็วจะส่งผลให้ระบบประสาทของผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่ตื่นตัว แถมการขับรถเร็วยังทำให้ผู้ป่วยโรคแพนิคจะต้องใช้สายตามากกว่าเดิม ดังนั้นสาเหตุเหล่านี้อาจจะเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ Panic รุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม
-
พกของหวาน : การพกของหวานหรือพกลูกอมติดรถไว้ด้วย เป็นสิ่งที่สามารถช่วยป้องกันอาการแพนิคขณะขับรถได้เป็นอย่างดี เพราะผลวิจัยพบว่าเมื่อร่างกายของผู้ป่วยได้รับปริมาณน้ำตาลที่เพียงพอก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกผ่อนคลายและลดอาการกังวลขณะขับรถได้

ยิ่งกลัว ยิ่งต้องขับ: สำหรับการขับรถเชื่อว่าหลายคนก็จะต้องมีความกังวลกันอยู่แล้ว ดังนั้นยิ่งมีความกังวลมากเท่าไหร่ก็จะต้องขับให้ได้มากเท่านั้น เพราะถ้าหากเรากลัวจนหยุดขับรถเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้กลัวมากขึ้นกว่าเดิม ฉะนั้นจะต้องมีความขยันขับรถบ่อยๆ หากไม่มั่นใจทำ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล รายปี ไว้เพื่อความอุ่นใจด้วยก็ได้ เพราะการขับรถบ่อยๆ จะช่วยฝึกความชำนาญไปในตัว แล้วอาการแพนิคจะลดลงไปเอง
|
|
Jenniee
[43.249.108.xxx] เมื่อ 1/12/2023 14:05
|